.
นักวิจัยเข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียนนักวิจัย
แอดมินเข้าสู่ระบบ
พฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน 2567
หน้าหลัก
งานวิจัย
บทความ/วารสาร
นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกสารดาวน์โหลด
สถิติ/รายงาน
รายงานข้อมูลประวัตินักวิจัย
รายงานข้อมูลผลงานวิจัย
รายงานข้อมูลจำนวนนักวิจัยแยกตามสาขาเชี่ยวชาญ
รายงานข้อมูลจำนวนนักวิจัยแยกตามหน่วยงานที่สังกัด
รายงานข้อมูลจำนวนนักวิจัยแยกตามประเภทนักวิจัย
คู่มือการใช้งาน
สำหรับนักวิจัย
สำหรับแอดมิน
สำหรับผู้บริหาร
1
ข้อมูล นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ถอยกลับ
ชื่อนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ :
*
Go Najok
ยุทธศาสตร์ :
*
Array ( [0] => Array ( [0] => 42000 [SQLSTATE] => 42000 [1] => 102 [code] => 102 [2] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]Incorrect syntax near 'ประจำปี'. [message] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]Incorrect syntax near 'ประจำปี'. ) [1] => Array ( [0] => 01000 [SQLSTATE] => 01000 [1] => 16954 [code] => 16954 [2] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]Executing SQL directly; no cursor. [message] => [Microsoft][ODBC Driver 11 for SQL Server][SQL Server]Executing SQL directly; no cursor. ) ) 1
สาขาของนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ :
*
สาขาการศึกษา
หลักการและเหตุผล :
*
ประเทศไทยเป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพและโอกาสทางการท่องเที่ยวมากมาย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ยังมีแนวโน้มเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม อาหาร และประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้น ไทยยังเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านกายภาพและเครือข่ายการคมมาคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว World Economic Forum :WEF พบว่าประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 35 จาก 141 ประเทศทั่วโลก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกได้สร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของชนชั้นกลางที่เพิ่มความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการท่องเที่ยว พร้อมการเดินทางมีความสะดวก สบายยิ่งขึ้น กอปรกับการเกิดขึ้นของสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ การเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวโดยตรงมากขึ้น และเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่หลากหลายได้ (สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2560) ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อประเทศไทยยังเผยให้เห็นโดยก่อนที่จะเกิดการแพร่หลายของไวรัสโคโรน่าโควิด-19 นั้น รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวไทยและชาวต่างชาติมีบทบาทสำคัญถึงร้อยละ 17 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (ธนาคารแห่งประเทศไทย,2560 ออนไลน์) หนึ่งในปัญหาสำคัญของการท่องเที่ยวไทยก็คือการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวเฉพาะในกลุ่มเมืองหลักซึ่งมีจำนวนเพียง 22 จังหวัดเท่านั้น เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา หรือ เชียงใหม่ ฯลฯ (ฐานเศรษฐกิจ,2560 ออนไลน์) ในส่วนของจังหวัดที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มการท่องเที่ยวเมืองรองนั้นมีจำนวนมากถึง 55 จังหวัด หรือคิดเป็น 3 ใน 4 ของจังหวัดในประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำทางการท่องเที่ยวของไทยยังสะท้อนให้เห็นจากการเปรียบเทียบรายได้ทางการท่องเที่ยวในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ระหว่างเมืองหลักเช่น กรุงเทพฯ 697,968 ล้านบาท ภูเก็ต 313,186 ล้านบาท ชลบุรี 181,598 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จังหวัดที่อยู่ในกลุ่มเมืองรองที่มีรายได้สูงสุด 3 ลำดับแรกได้แก่ เชียงราย 17,300 ล้านบาท ตราด 13,649 ล้านบาท และ นครศรีธรรมราช 12,334 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อนำรายได้ทางการท่องเที่ยว 10 ลำดับท้ายสุดของจังหวัดในกลุ่มเมืองรองในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2562 จะมีรายได้รวมเพียง 4,984 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับรายได้ทางการท่องเที่ยวของ 2 จังหวัดในกลุ่มเมืองหลัก ได้แก่ สระบุรี และ นครปฐม เท่านั้น (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2562, ออนไลน์) กล่าวได้ว่า การกระจายตัวของการท่องเที่ยวในประเทศไทยในด้านรายได้ของชาวต่างชาติและชาวไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลักเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยมีเพียงจังหวัดตราดที่เป็นเมืองรองเพียงจังหวัดเดียวที่มีรายได้อยู่ในอันดับที่ 10 (ฐานเศรษฐกิจ,2560 ออนไลน์) สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและใช้จ่ายในไทยได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและแรงงาน ชาวไทยจำนวนมาก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีต่างๆ (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2562) อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจจากกลุ่มนักเดินทางจาก 29 ประเทศทั่วโลกโดยเว๊ปไซต์ Booking.com ระบุว่า ผู้เดินทางชาวไทยจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 68 อยากมีส่วนร่วมในการลดปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมือง โดยปี 2563 จะเลือกท่องเที่ยวเมืองรองแทนเมืองหลัก ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 65 ระบุว่าต้องการเปลี่ยนแผนไปเที่ยวจุดหมายอื่นที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนภาษีแก่นักท่องเที่ยว การยกเว้นภาษีในกรณีจัดอบรมสัมมนาในจังหวัดเมืองรอง รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่นๆ ให้แก่เมืองรอง เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนโยบายการท่องเที่ยวประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้ระบุว่า นักท่องเที่ยวมีแรงขับเคลื่อนที่ปรารถนาจะสัมผัสประสบการณ์แบบชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น มีที่พักอันมีเอกลักษณ์ในชุมชนช่วยดึงดูดและรองรับผู้มาเยือนเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวเมืองรองยังคงได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลต่อไปเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในพื้นที่เมืองรอง (ชาญกฤช เดชวิทักษ์ ,2562) สำหรับในพื้นที่นครพนมเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มจังหวัดเมืองรอง ในช่วงหกเดือนแรกของปี พ.ศ. 2562 ขณะที่จังหวัดนครพนมมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1,209 ล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 57 ของไทย การพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองจังหวัดในช่วงก่อนการระบาดของไข้หวัดโควิด 19 นั้นมีแนวโน้มขยายตัวมากยิ่งขึ้น (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2562, ออนไลน์) นครพนมเป็นจังหวัดที่มีอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรมสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในภาคอีสานรองจากจังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น (ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน, 2562, ออนไลน์) ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ยังระบุว่าจังหวัดนครพนมล้วนเป็นพื้นที่ซึ่งมีทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยการเป็นจังหวัดที่มีชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นพื้นที่ซึ่งมีประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของโฮจิมินห์ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษคนสำคัญของชาวเวียดนามและบุคคลที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ในปัจจุบันมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโฮจิมินห์ในพื้นที่จังหวัดนครพนมได้แก่ บ้านลุงโฮจิมินห์ พิพิธภัณฑ์ประธานโฮจิมินห์ อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ ฯลฯ อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่โดดเด่น รวมถึงอาหารชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามซึ่งเป็นเมนูยอดนิยมของชาวไทยจำนวนมาก สอดคล้องกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 6Ps ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย (Place) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านการให้บริการส่วนบุคคล (Personalization) และปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องมีช่องท่างการสื่อสารการตลาดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวตามเส้นทางโฮจิมินห์กับลูกค้าเพื่อให้เกิดการยอมรับ ตัดสินใจซื้อสินค้า พร้อมการบริการที่เสนอขายการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ กระบวนการส่งข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในทางการตลาดเรียกว่า“การสื่อสารการตลาด”หรือ Marketing Communications (Bovee,Houston and Thill.1995:526) การสื่อสารการตลาดถือว่าเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่มีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้รับข้อมูลข่าวสารให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามได้ นอกจากนั้น ภายใต้สถานการณ์การท่องเที่ยวที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น เครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สำคัญภายใต้มาตรการล๊อกดาวน์จึงได้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนยุคดิจิทัลและยุค COVID-19 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวหรือเส้นทางการท่องเที่ยวและตอบสนองความต้องการของผู้คนบนโลกออนไลน์ การรองรับการฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อน COVID-19 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Kanokorn Na Ranong,2020) สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้คือเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือผ่านอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเพื่อการเรียนรู้หรือเรียกว่าสมาร์ทโฟน ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟนไม่เพียงแต่จะรวมข้อมูลไว้ด้วยกันและใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่และทุกเวลาแล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ การศึกษา ความบันเทิง การใช้พัฒนาแอพฟลิเคชันตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น (Kraut, Robert E. ,2016) โดยสมาร์ทโฟนได้นำเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมและแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้เป็นเครื่องมือทางการศึกษา ซึ่งใช้หลักเกณฑ์และแนวทางในการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้แบบทฤษฎีร่วมสมัยระหว่างสมาร์ทโฟนกับการศึกษา สำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียในปัจจุบันได้นำเกมมิฟิเคชัน (Gamification) มาใช้เป็นแนวคิดเรื่องกลไก แรงผลักดัน และสุนทรียภาพของเกมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมที่ไม่ใช่เกมเพื่อทำให้ผู้ใช้มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และเพิ่มความรู้สึกผูกพันกับกิจกรรมนั้น ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เกมมิฟิเคชันในหลายวงการ โดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์หลักในการเพิ่มความมุ่งมั่นและความผูกพันในการทำกิจกรรมการเพิ่มผลกำไรทางธุรกิจ การพัฒนาเรียนการสอน เป็นต้น (Huotari and Hamari, 2012) ในวงการศึกษามีการประยุกต์ใช้เกมมิฟิเคชันในการเรียนรู้ โดยใช้เป็นแนวทางพัฒนาการศึกษาที่มุ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนที่ใช้หลักการออกแบบเกมและองค์ประกอบพิเศษของเกมมาผสมผสานในสภาพแวดล้อม การเรียน (Kapp, Lucas, and Rich, 2013) เป้าหมายสำคัญที่สุดของเกมมิฟิเคชันคือการเพิ่มความสนุกในการเรียน การมีความมุ่งมุ่นและผูกพันกับการเรียนผ่านความสนใจของผู้เรียนและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนต่อไป (Wendy and Dilip, 2013) เกมมิฟิเคชันนำกลไกของเกมมาสร้างความสนใจในการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจและความน่าตื่นเต้นในการเรียนรู้ ทำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี มีกระบวนการที่ง่ายต่อการเข้าใจในสิ่งที่ซับซ้อน โดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เป็นความจริงมาจัดเป็นกิจกรรมในลักษณะของเกมหรือเป็นการใช้เทคนิคในรูปแบบของเกมโดยไม่ใช้ตัวเกม เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่สนุกสนาน ใช้กลไกของเกมเป็นตัวดำเนินการอย่างชัดเจน อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ตรวจสอบ ปรับปรุง และหาวิธีการแก้ไขปัญหา (กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย,2560) ทั้งนี้ การพัฒนาแอพฟลิเคชันเพื่อยกระดับการสื่อสารการตลาดบนพื้นฐานเกมมิฟิเคชัน ต้องการให้นักท่องเที่ยวมีช่องทางการท่องเที่ยวเสริมการเรียนรู้ผ่านการปฏิสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม การสะสมแต้ม การให้รางวัล การเลื่อนระดับ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะซึมซับเนื้อหาผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวตามเส้นทางโฮจิมินห์ สำหรับกลไกของเกมมิฟิเคชัน เป็นการเล่นและเรียนรู้ ท่องเที่ยวไปในเวลาเดียวกัน เรียกว่า เพลย์แอนด์เลิร์นโดยคำนึงถึงการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมของทุกฝ่าย ผลที่คาดว่าจะได้รับจากแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวล้วนมีความน่าสนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รับรู้ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวเวียดนามและชาวต่างชาติมากนัก อีกทั้งยังกระจายตัวอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม อย่างไรก็ตาม แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้กลับมีศักยภาพสูงในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย และโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามที่นับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการเปิดเส้นทางการบินระหว่างไทย – เวียดนามในภูมิภาคต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางมากยิ่งขึ้น รวมถึงเส้นทางการบินระหว่างอุดรธานีกับเมืองสำคัญของเวียดนามในอนาคตอันใกล้ นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาตามเส้นทางขนส่งทางบกในภาคอีสานยังสามารถเดินทางเข้าสู่พื้นที่จังหวัดนครพนมผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 และเข้าสู่จังหวัดอุดรธานีผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 1 ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้วเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวเวียดนามที่มีจำนวนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยใช้ระยะเวลา 12 เดือนในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการวิจัย คณะผู้วิจัยจึงได้เสนอการวิจัยในหัวข้อ “เล่น เรียน เที่ยว ตามรอยโฮจิมินห์ เยือนถิ่นนครพนม”ในครั้งนี้
ประเภทความรับผิดชอบ :
*
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการอื่นๆ (ถ้ามี) :
ระบุผู้ร่วมโครงการภายใน
ระบุผู้ร่วมโครงการภายนอก
ที่มาแหล่งทุน :
*
แหล่งทุนภายนอก :
*
วช.
ระบุแหล่งทุนภายนอกอื่นๆ :
แหล่งทุนภายใน :
จำนวนงบประมาณ :
*
400000
ปีที่ได้รับทุน :
*
2564
ปีที่เสร็จสิ้น :
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ :
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพื้นที่เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการจัดการชุมชนในบ้านนาจอก ได้แก่ ตัวแทนเทศบาลตำบลหนองญาติ ตัวแทนมหาวิทยาลัยนครพนม สมาคมไทยเวียดนามจังหวัดนครพนม ชาวบ้านชุมชนบ้านนาจอก และผู้ประกอบการในพื้นที่ ผู้จัดทำแอพฟลิเคชัน นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา
เลขที่ คำขอ/สิทธิบัตร :
เว็บไซต์ตรวจสอบสิทธิบัตร :
ไฟล์ fullpaper PDF:
innofile-1722479452-1722479452.pdf
ไฟล์ ภาพนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์:
นักวิจัยเข้าสู่ระบบ
×
Login
ลงทะเบียนนักวิจัย
×
* ระบุสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ)
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
สาขาปรัชญา
สาขานิติศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาเศรษฐศาสตร์
สาขาสังคมวิทยา
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
สาขาการศึกษา
ดนตรีวิทยา
มานุษยดุริยางควิทยา
ดนตรีศึกษา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร ์
การจัดการการบิน
บริหารธุรกิจ
เทคโนโลยีอาหาร/โภชณาการอาหาร
การโรงแรม
วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
พยาบาลศาสตร์
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การท่องเที่ยว
ท่องเทียว - ชุมชนผูัสูงอายุ
วิศวกรรมศาสตร์ - พลังงาน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย - ช่างยนต์
ลงทะเบียน
แอดมินเข้าสู่ระบบ
×
Login
ลงทะเบียนนักวิจัย Test
×
* ระบุสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ)
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
สาขาปรัชญา
สาขานิติศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาเศรษฐศาสตร์
สาขาสังคมวิทยา
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
สาขาการศึกษา
ดนตรีวิทยา
มานุษยดุริยางควิทยา
ดนตรีศึกษา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร ์
การจัดการการบิน
บริหารธุรกิจ
เทคโนโลยีอาหาร/โภชณาการอาหาร
การโรงแรม
วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
พยาบาลศาสตร์
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การท่องเที่ยว
ท่องเทียว - ชุมชนผูัสูงอายุ
วิศวกรรมศาสตร์ - พลังงาน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย - ช่างยนต์
ลงทะเบียน